xs
xsm
sm
md
lg

สหภาพฯรฟท.ยื่น”สุริยะ”เร่งแก้วิกฤติขาดคนทำงาน ชงปลดล็อตมติครม.ปี 41 เพิ่ม 3,038 อัตราตามแผน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สหภาพฯรฟท.ยื่น”สุริยะ”แก้วิกฤติขาดพนักงาน เร่งชงครม.ปลดล็อค มติ ก.ค.ปี 41 จำกัดบรรจุได้แค่ 5% ของผู้เกษียณ ชี้ไม่เพียงพอต่อภารกิจ ทำงานตรากตรำ กระทบต่อคุณภาพชีวิต เผยมติบอร์ดรฟท.มีแผนเพิ่ม 3,038 อัตรา ช่วงปี 68 - 72 เพื่อรองรับงานเดินรถ-ทางคู่

วันที่ 8 พ.ค. 2568 นายสราวุธ  สราญวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) พร้อมด้วย คณะกรรมการสหภาพฯการรถไฟ เข้าพบนายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้ติดตามเร่งรัดผลักดันการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี 28 กรกฎาคม 2541 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตราพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้นายสรพงศ์ ไพทูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านขนส่ง เป็นผู้แทนเข้าพบหารือและรับหนังสือ

โดยในหนังสือระบุว่า เพื่อให้การดำเนินภารกิจของการรถไฟฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐรวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน สร.รฟท. ได้มีหนังสือที่ สร.รฟท.828/2567 ลงวันที่ 23 กันยายน 2567 เพื่อเสนอข้อมูลแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพนักงานการรถไฟฯ และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของการรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการสั่งการตามหนังสือ ที่ คค.0100/สรค./2484 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2567 อ้างถึง คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (คกร.) มีการประชุมครั้งที่ 16/2567 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 มีมติเห็นชอบเสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 ที่ให้รับพนักงานได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนพนักงานที่เกษียณอายุ และอนุมัติแผนปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของการรถไฟฯ โดยขอดำเนินการรับพนักงานใหม่เพิ่มจำนวน 3,038 อัตรา ในกรอบ ปี 2568 - 2572 ( ระยะเวลา 5 ปี) โดยปีแรกบรรจุจำนวน 1,260 อัตรา และทยอยรับในปีต่อไป ไม่น้อยกว่า 400 คนต่อปี โดยนำเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

เพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตราพนักงานโดยเฉพาะในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการเดินรถ รวมถึงการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนระบการขนส่งทางราง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดมีให้บุคคลาคลเพียงพอ สอดคล้องตามนโยบายการขยายโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศ


โดยระบุว่า จากกรณีที่การรถไฟฯได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 ให้รฟท. ถือปฏิบัติตามมาตรการ ข้อสังเกต และตามความเห็นกระทรวงการคลัง ความเห็นตามมติคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจโดยเคร่งครัด ซึ่งมีมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ให้มีอัตรากำลังภายในกรอบที่กำหนด โดยภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 จะมีพนักงานไม่เกิน 18,015 คน และลูกจ้างไม่เกิน 4,046 คน และงดรับพนักงานใหม่ ยกเว้นตำแหน่งเกี่ยวกับการเดินรถและตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิพิเศษ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว ทั้งนี้จะรับพนักงานได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนพนักงานที่เกษียณอายุ

ส่งผลให้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2568 มีพนักงาน 8,653 คน และจะมีพนักงานที่จะเกษียณอายุในวันที่ 30 กันยายน 2568 จำนวน 295 คน ( ส่วนใหญ่เป็นพนักงานด้านปฏิบัติการร้อยละ 69.32 ) คงเหลือพนักงานจำนวน 8,367 คน คิดเป็นร้อยละ 46.45 ของกรอบอัตรากำลังตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดไว้ (18,015 อัตรา) และหากการรถไฟฯจะดำเนินการรับพนักงานใหม่ได้ตามเงื่อนที่กำหนดก็จะรับเพิ่มได้ไม่เกิน 14 คน

เมื่อพิจารณาถึงบทบาทหน้าที่ภารกิจหลักของการรถไฟฯในปัจจุบันกับการให้บริการประชาชนในการเดินขบวนรถโดยสาร และขบวนรถสินค้า เดินประจำจำนวน 296 ขบวน เดินเมื่อต้องการจำนวน 150 ขบวน รวมทั้งสิ้น 596 ขบวน ซึ่งจำเป็นต้องมีพนักงานด้านปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง (ด้านปฏิบัติการเดินรถ การซ่อมบำรุงทาง และงานโยธา เช่น พนักงานขับรถ ช่างเครื่อง นายสถานี พนักงานกั้นถนน พนักงานขบวนรถ ช่างซ่อมบำรุง งานด้านโยธา การซ่อมบำรุงทางและระบบอาณัติสัญญานโทรคมนาคม) รองรับภารกิจต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการเดินรถ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และรวมถึงฝ่ายสนับสนุนซึ่งมีความจำเป็นในภารกิจที่รองรับเกี่ยวข้องกับด้านสำนักงาน/สวัสดิการให้กับพนักงาน


โดยข้อมูลสถิติอัตรากำลังพนักงานการรถไฟฯในระยะ 5 ปีข้างหน้า จะมีพนักงานการรถไฟฯเกษียณอายุการทำงาน 1,635 คน (เป็นพนักงานด้านปฏิบัติการร้อยละ 72.54 ) สามารถรับพนักงานเพิ่มตามเงื่อนไขมติคณะรัฐมนตรีได้เพียง 81 คน ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบจากรัฐบาลในการเดินขบวนรถให้บริการประชาชน โดยหากการรถไฟฯได้รับการเพิ่มจำนวนพนักงานเป็นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 จะทำให้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนโดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยในการเดินรถ เนื่องจากที่ผ่านมาในส่วนของพนักงานด้านปฏิบัติการที่ทำงานด้วยความตรากตรำ ไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ ต้องเสียสละทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด ควงเวรทำการ อยู่เป็นประจำเพื่อให้ภารกิจในการเดินขบวนรถของการรถไฟฯเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งผลจากการทำงานดังกล่าวทำให้พนักงานด้านปฏิบัติการมีความตรากตรำสะสมเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่ให้กับการรถไฟฯ รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายของการรถไฟฯมีเพิ่มขึ้นจากค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด เงินค่าทดแทนจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ และเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน


ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินภารกิจของการรถไฟฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐรวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน สร.รฟท. ได้มีหนังสือที่ สร.รฟท.828/2567 ลงวันที่ 23 กันยายน 2567 เพื่อเสนอข้อมูลแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพนักงานการรถไฟฯ และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการสั่งการตามหนังสือ ที่ คค.0100/สรค./2484 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2567 อ้างถึง คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (คกร.) มีการประชุมครั้งที่ 16/2567 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 มีมติเห็นชอบเสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 ที่ให้รับพนักงานได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนพนักงานที่เกษียณอายุ และอนุมัติแผนปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของการรถไฟฯ โดยขอดำเนินการรับพนักงานใหม่เพิ่มจำนวน 3,038 อัตรา ในกรอบ ปี 2568 - 2572 ( ระยะเวลา 5 ปี) โดยปีแรกบรรจุจำนวน 1,260 อัตรา และทยอยรับในปีต่อไป ไม่น้อยกว่า 400 คนต่อปี โดยนำเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

เพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตราพนักงานโดยเฉพาะในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการเดินรถ รวมถึงการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนระบการขนส่งทางราง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดมีให้บุคคลาคลเพียงพอ สอดคล้องตามนโยบายการขยายโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศ


กำลังโหลดความคิดเห็น
OSZAR »